เมื่อครั้งที่แล้วผมได้พูดถึง ความเป็น CGM ไปแล้ว CGM หรือ Consumer Generated Media นั้น มีด้วยกันหลายรูปแบบได้แก่

  • Blog รูปแบบที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากของ CGM หลาย ๆ บริษัทนำมาใช้สื่อสารกับลูกค้าเช่น nokia n90 blog, hp blog ฯลฯ ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่จะเปิดให้ผู้ใช้สินค้าของตนเองแสดงความคิดเห็นต่ตัวสินค้าหรือบริษัท ซึ่งข้อมูลที่ได้บางครั้งอาจจะได้มากกว่าการทำ Focus Group เสียอีก เพราะผู้ที่เข้ามาอ่านหรือเขียน blog comment ก็จะเป็นเหล่าสาวกหรือผู้สนใจในตัวสินค้าหรือบริการจริงๆ
  • Webboard หรือ Forum CGM ที่มีมานานแล้วในบ้านเรา webboard เป็นเหมือนเสียงสะท้อนในของกลุ่มผู้มีความสนใจเหมือน ๆ กัน จะสังเกตุได้ว่า webboard ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกกำหนดหรือสร้างขึ้นโดยเจ้าของสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจนเหมือน blog แต่เจ้าของสินค้า/บริการจากความคิดเห็นนั้นมาเป็นข้อมูลในการทำการตลาดต่อไป
  • Rating and Review เป็นการจัดอันดับให้กับสินค้า บริการ หรือตัวเว็บไซต์เอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ amazon.com ซึ่งให้ผู้อ่านสามารถโหวตและแสดงความเห็นต่อหนังสือได้ การทำ rating หรือทำการ vote นี้เป็นการมุ่งสร้างความน่าเชื่อถือโดยการขอเสียงจากผู้ชมนั่นเอง
  • Club site น่าจะเป็นวิธีที่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมและได้เสียงจากสาวกพอสมควร เพราะ website ประเภทนี้สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกและรับรู้ความต้องการของสมาชิกที่สนใจจริง ๆ
  • Third-party Web sites. ในบ้านเรา น่าจะยังไม่มี website ประเภทนี้ website ที่ให้ผู้ที่ได้รับความเสียหาย หรือ ไม่พอใจจากสินค้าหรือบริการ สามารถโพสก์ประสบการณ์แย่ ๆ ที่มีต่อสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่บ้านเรามักจะแฝงอยู๋ในเว็บบอร์ดมากกว่า ตัวอย่างของเว็บไซต์ประเภทนี้เช่น complaints.com, my3cents.com เป็นต้น ซึ่งเจ้าของธุรกิจสามารถรับรู้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของตนผ่านเว็บประเภทนี้ได้เช่นกัน

Tags: ,, , ,,,,, ,, ,, ,

บริษัท Neilsen Buzzmetrics ผู้ให้บริการในด้านการทำวิจัยและวัดผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับ CGM คาดการว่าแสดงความคิดเห็นโดยผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในสิ้นปี 2006 นี้จะมีอยู่กว่า 25 ล้านความคิดเห็นในรูปแบบต่าง ๆ ซึงรูปแบบที่ว่านี้เราเรียกสั้น ๆ ว่า ” CGM ” และการแสดงความคิดเห็นนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดทิศทางของนักการตลาดที่จะใช้สื่ออินเตอร์เน็ตในการทำการตลาดอีกด้วย มาหาคำตอบกันครับว่า CGM คืออะไร

Buzz

Consumer Generated Media หรือ CGM นั้น บริษัท Neilsen Buzzmetrics ได้ให้ความหมายของมันว่าเป็นความคิดเห็น ประสบการณ์ส่วนตัว ข้อเสนอ คำบอกเล่าต่างๆ ที่เหล่านักท่องอินเตอร์เน็ตที่จากเดิมเป็นเพียงผู้อ่าน ผู้ชม หรือผู้เฝ้าดู ได้กลายมาเป็นผู้นำเสนอ วิจารณ์ เล่าหรือบอกต่อ ความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อผลิตภัณฑ์ แบรนด์ หรือ ประเด็นต่างๆในสังคม CGM นั้นอาจเรียกได้ว่าเป็น Online Consumer Word-Of-Mouth หรือ Online Consumer Buzz เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า พูดปากต่อปาก แต่ในแบบออนไลน์ นั่นเอง ใน wikipedia จัดให้ Consumer Generated Media เป็นประเภทเดียวกับ Consumer Generated Content (เนื้อหาออนไลน์เกิดจากผู้ใช้)

นักการตลาดออนไลน์ัปัจจุบัน ให้ความสนใจกับ CGM มากเพราะด้วยการเปิดกว้างของโลกออนไลน์ทำให้ผู้ใช้ได้เปิดเผยความต้องการที่ไม่อาจสนองได้ในโลกออฟไลน์ เช่นการแสดงความคิดเห็นอย่างเิปิดเผย ในสื่ออินเตอร์เน็ต การบอกต่อความดีและไม่ดีของสินค้าและบริการเป็นต้น นักการตลาดหลาย ๆ ท่านพยายามเปิดเวทีเพื่อให้ลูกค้าของตนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งการปรับปรุงสินค้าและบริการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเว็บบอร์ด Community Website เป็นต้น

ครั้งหน้ามาดูกันว่า CGM มีกี่ประเภทครับ

Tags:  ,, , ,,,,

อ่านข่าวจาก manager.co.th เขารายงานว่าจำนวน Blog ในโลกจะแตะหลัก 100 ล้านแห่งได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2007 โดยการสำรวจของ Technorati  และภาษาที่ใช้ในบล็อกส่วนมากคือภาษาอังกฤษ ประมาณ 39 เปอร์เซ็นต์

อ่านข่าวเพิ่มที่ ผู้จัดการออนไลน์ Section Cyberbiz ครับ นี่แหละนะ ความง่ายของการมี Blog เป็นของตนเอง ไม่ต้องยุ่งยากว่าจะหา Content อะไรมาเขียนเหมือนเว็บไซต์ แค่อยากเขียนในสิ่งที่ตัวเองคิดและเรียนรู้ที่จะใช้ของฟรีก็มี Blog ได้แล้ว

วันนี้ใครไม่รู้จัก Blog ก็เข้าไปที่ keng.com เลย “ is all around” จริงๆๆ

เมื่อวันพุธที่ 26 ที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมสัมมนา” เคล็ดลับ..ธุรกิจออนไลน์ ” ที่จัดโดยรายการ elife ebusiness รายการนี้ออกอากาศช่อง 9 เวลา 10.30 – 11.00 และ Nation Channel 16.00- 16.30 น.ในวันจ-ศ. เป็นรายการนำเสนอการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารธุรกิจ

รวมสุดยอดเว็บไซต์ Elife Ebusinessในงานสัมมนาครั้งนี้ ถือว่าเป็นการรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ website,  E-commerce และ E-Business รวมทั้ง Mobile Marketing เช่น หนุ่ย-พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เกมโนลิมิต  คุณประยุทธ ตัณฑ์ศรีสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ลูกค้าบุคคลและ ผู้ประกอบการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ภูมิจิตร ศิรวงศ์ประเสิรฐ อุปนายกสมาคมและเหรัญญิกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย, อัครวุฒิ ตำราเรียง President Marvelic Co.,Ltd.(mambohub.com), ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ เจ้าของ tarad.com และ thaisecondhand.com (ท่านนี้เคยให้สัมภาษณ์ในเว็บไซต์ของ thinkandclick.com), คุณศิรเวท ศุขเนตร ประธานโมบาย เพย์เมนท์ คลับ บริษัท เพย์ซี่ (ประเทศไทย) จำกัด , ดร.เศรษฐพงษ์ มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญ MOBILE MARKETING TECHNOLOGY และที่ปรึกษาด้านโทรคมนาคมหลายองค์กรและ ผู้ประกอบตัวจริงอย่างเช่น คุณปฐมา เต็มวุฒิโรจน์ ผู้จัดการบริษัท คริสตัล –ปาร์ตี้ เจมส์เฮ้าส์ และเจ้าของ www.gemshouse.com , คุณศิวัตร เชาวรียวงศ์ รองประธานฝ่ายพัฒนาองค์กร บริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน) (ท่านนี้เคยติดต่องานการเมื่อ 2 – 3 ปีที่แล้ว เมื่อครั้งผมยังทำงานที่รพ.มีชื่อแห่งหนึ่งแถวอนุสาวรีย์ฯ), คุณเรวัต จินดาพล ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์มิสลิลลี่ดอทคอม, คุณกษมา นีรปัทมะ รองประธานบริหารการตลาด บริษัท เอ็มเว็บ ( ประเทศไทย ) จำกัด

Read More →

ในเว็บไซต์ http://www.acadamyinternet.com/ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านที่ปรึกษาการทำการตลาดบนอินเตอร์เน็ตของอังกฤษได้ให้ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังคิดจะทำเว็บไซต์ใหม่ โดยใช้หัวข้อว่า “Checklist for anyone planning a new website หรือ “10 ข้อควรคำนึงสำหรับผู้ที่คิดจะมีเว็บไซต์” ดังนี้(ขออนุญาติไม่แปล)

Read More →