email_marketing_thai_book.gifวันว่างผมมักใช้เวลาอยู่ในร้านหนังสือ เพื่อหาหนังสือใหม่ๆ น่าสนใจมาอ่านประดับความรู้อันน้อยนิดของผม แล้ววันนี้ก็ได้มาอีกเล่ม หลังจากเปิดพลิกไปมาครู่หนึ่งก็ตัดสินใจซื้อซะเลย หนังสือที่ว่าคือ หนังสือ E-mail Marketing : การตลาดด้วยอีเมล์ “ ของสำนักพิมพ์ IM Books เขียนโดย กันต์ฐศิษฎ์ เลิศไพรงาม

เป็นหนังสือที่น่าสนใจดีทีเดียว และน่าจะเป็นเล่มแรกที่เป็นเรื่องของการทำการตลาดด้วย email ล้วนๆ หากใครที่คุ้นเคยกับการทำ Direct Mail หรือ  Database Marketing มาก่อนจะเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะ Email Marketing คือการทำ Direct Mail แต่เปลี่ยนจากการส่งไปรษณีย์ปกติมาเป็น email ส่วนวิธีการ ขั้นตอนไม่ต่างกันนัก ไม่ว่าจะเป็นการทำ Database Segmentation หรือ คำนวณ RFM Value Analysis (Recency,Frequency และ Monetary) เพื่อส่งให้ถูกกลุ่มลูกค้าต่างๆกันได้ถูกกลุ่ม แต่สิ่งที่ทำให้ email ต่างจาก direct mail คือความประหยัด วัดผลเป็นตัวเลขได้ดีกว่า เมื่อส่ง EMail ไปแล้วรู้ได้ว่าผู้อ่านเปิดไม่หรือไม่จาก Tracking Script ใน email ขณะที่ ไปรษณีย์ปกติจะวัดผลยากกว่า ลองมาดูว่าภายในบรรจุอะไรไว้บ้างกัน

สารบัญ :

บทที่ 1 พลังอำนาจของอีเมล์
บทที่ 2 แนวความคิดของการตลาดด้วยอีเมล์
บทที่ 3 การวางแผนแคมเปญการตลาดด้วยอีเมล์
บทที่ 4 การใช้อีเมล์หาลูกค้าใหม่
บทที่ 5 การใช้อีเมล์รักษาลูกค้า
บทที่ 6 การสร้างสรรค์อีเมล์โฆษณา
บทที่ 7 การบริหารการตลาดด้วยอีเมล์
บทที่ 8 ความท้าทายและนวัตกรรมของการตลาดด้วยอีเมล์

หนังสือเล่มนี้เป็นปกแข็ง ราคา 799 บาท ซึ่งค่อนข้างสูงแต่ด้วยความหนา 400 กว่าหน้าและเนื้อหาอัดแน่น ก็เป็นเล่มที่น่าสนใจทีเดียว เพราะหนังสือประเภทนี้ไม่ค่อยมีคนไทยเขียน ใครมีทุนรอน และสนใจก็ลองหามาอ่านและทำตามดูครับ

Tags: , , ,

email-spam.jpgปัญหาทุกวันนี้ของนักกา่รตลาดที่ใช้ email ในการทำ e-marketing campaigns ก็คือ ทำอย่างไรถึงจะทำให้ email ที่เราส่งไปนั้นไม่ตกอยู่ในถัง spam หรือโดนลบไปจาก Inbox ก่อนที่ผู้รับจะเปิดอ่าน

จากการศึกษาของ Returnpath ผู้ให้บริการคำปรึกษาและวิจัยเรื่อง email marketing ได้ทำการสำรวจเรื่องของ email Spam พบว่ากว่า 44 % ของผู้รับจะไ้ด้รับ Junk email จากผู้ส่งที่ตนเองรู้จัก และยังสำรวจพบอีกว่า่ 55% ของผู้รับจะลบ email ที่ไม่ต้องการทิ้ง อีก 27 % จะืทำการกำหนดให้email ที่ไม่ต้องการนั้นเป็น Spam (mark or Report as spam) จากสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ผู้รับจะยินดีที่จะรับ email จากเราแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า email ที่เราส่งออกไปจะไม่ตกอยู่ใน Spambox หรือโดนลบทิ้งเพราะเป็น email ที่ไม่ต้องการ

Constant Contact ผู้ให้บริการโปรแกรมส่ง email แบบ online ได้ให้ข้อแนะนำในการลดปัญหาการตกถัง Spam ของ email ได้อย่างน่าสนใจดังนี้

  1. ใช้ชื่อที่มักจะรู้จักกันดีทั่วไปในการส่ง email ในช่อง from (from name)เช่น ชื่อของบริษัทคุณเอง ซึ่งแน่ล่ะ domain name หลัง @ ก็ควรจะเป็นdomain name ของบริษัท ฯลฯ เพราะ บริการ email ส่วนใหญ่เช่น yahoo, hotmail หรือผู้ให้บริการ email ที่มีชื่อเสียง จะใช้ความมีชื่อเสียงของบริษัทเป็นตัวแปรในการตัดสินว่า email นั้นเป็น Spam หรือไม่
  2. ใช้ Subject หรือชื่อเรื่องที่ชัดเจน บอกได้ทันทีว่า email ของท่านมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เช่น ” How to guide for decorating your house “, “เที่ยวเหนือในราคา…. บาทผ่านบัตรเครดิต…ยี่ห้อ…” จะเห็นว่า หัวเรื่องแต่ละอันที่ยกมานั้นบอกชัดว่าเราจะได้อ่านเรื่องอะไรเมื่อเปิด email
  3. เสนอเนื้อหาเกี่ยวข้อง แน่ล่ะถ้าคุณส่ง email ที่มีเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง โอกาสที่ผู้รับลบ emailของคุณในครั้งหน้่าย่อมมีสูงแน่นอน แถมยังเสียภาพพจน์อีกด้วยในสายตาผู้รับ
  4. ใช้ฐานข้อมูล Email ที่ทันสมัย หากคุณส่ง email ไปยังผู้รับที่ไม่มีตัวตนบ่อยครั้ง email ของคุณในครั้งหน้าก็มีโอกาสตกไปอยู่ในถัง Spam ได้เพราะ ISP หรือ ผู้ให้บริการ email จะมองว่ากำลังส่ง email ที่ผิดปกติออกไป ฉะนั้น หากคุณส่ง email ออกไปแต่ละครั้งแล้วมีผู้รับที่ไม่มีตัวตนหรือส่งแล้วเกิด Rejected Email ก็ควรลบ email นั้นออกจากระบบจะดีกว
  5. ยืนยัน email ระบบการยืนยัน email เป็นเหมือนหลักประกันว่าผู้รับต้องการรับ email จากเราแน่ ๆ เพราะเมื่อผู้รับสมัครรับ email จากเรา สิ่งที่เขาต้องทำต่อไปคือการยืนยันการเป็นสมาชิก เพราะหากผู้รัีบไม่ได้ทำการยืนยันก็หมายความว่าผู้รับอาจจะไม่ต้องการรับ email จากเราจริงๆก็ได้

ทั้งหมดคือข้อแนะนำจาก Constant Contact ครับ จริง ๆแล้วจะมี 6 ข้อแต่ผมเห็นว่าข้อแนะนำที่สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่อิงกับระบบการส่งemail ของ Constant Contact จะมีอยู่ 5 ข้อจึงนำมาลงเพียง 5 ข้อ วิธีการทั้ง 5 นั้นผมว่าเป็นลดโอกาสของจำนวน email ที่ตกจะในถัง Spam แต่ก็ไม่รับประกันว่าทุก Email ที่ส่งออกไปจะไม่ตกลงในถัง Spam อย่างไรก็ตามครับ หากสามารถลดจำนวน emailที่มีแนวโน้มจะตกในถังสแปมก็เท่ากับเพิ่มโอกาสในการเปิด email ของเราโดยผู้รับใช่มั้ยครับ สำหรับพวกที่ส่ง email แบบผู้รับไม่ยินยอมหรือไปซื้อ email มาจากที่ ๆ เราก็ไม่รู้ว่าผูู้็ขายเอา email มาจา่กไหน ก็ไม่ต้องสงสัยเลยครับว่า email ของคุณมีโอกาสอยู่ใน Spam Box หรือโอกาสเผลอหน้าใน Inbox ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ผมกว่าเรากลับมาที่การทำ e-Marketing Marketing แบบเทพจะดีกว่าครับ ในระยะยาวคุณจะสร้างสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า

แหล่งอ้างอิง : Making it to the Inbox

Tags: , , , ,

eDMใน ข้อเสนอ(Offer)ที่ยากปฏิเสธ 2 ผมเล่าถึงหลัก 3 ถูกในการส่ง Direct Mail (DM) หรือ e-DM (E- Direct mail หรือ email marketing)ได้แก่ ถูกกลุ่ม ถูกใจ ถูกกาล โดยหยิบข้อแรกที่พูดถึงการส่งถูกกลุ่ม คือการเลือกกลุ่มที่จะส่งให้ถูกต้อง

2.ถูกใจ คำก็บอกอยู่แล้วว่า ถูกใจ หรือที่ภาษาอังกฤษเข้าเรียก satisfied หากคุณต้องการให้ผู้รับตอบกลับแต่สิ่งที่คุณเสนอกลับเป็นสิงที่เขาไม่ต้องการก็เสียเวลาและเงินตราโดยเปล่าประโยชน์ เหมือนกับเวลาคุณกำลังจีบหญิงหรือหนุ่มก็ไม่ว่า เวลาไปออกเดททานอาหารเย็น เขาหรือเธอรักสุขภาพชอบทานน้ำผลไม้ แต่คุณดันสั่งไวน์เสียนี่ เขาหรือเธอก็คงคิดว่าตานี่หรือยัยนี้ขี้เมาเปล่านะ

3.ถูกกาล คุณเคยอยากได้ในสิ่งบางสิ่งที่คุณไม่มีปัญญาที่จะหามาหรือต้องรอกว่าจะได้สิ่งนั้นมา แล้วเมือเวลาผ่านไปความต้องการก็ลดลงเรื่อยๆ จนไม่รู้สึกอยากในที่สุดมั้นครับ ตรงนี่ผมขอโยนคำถามง่ายๆว่า “คุณจะรอให้เขาหมดความอยากไปหรือไม่ ? ”

นั่นแหละครับคือหลัก 3 ถูกที่ผมใช้

ผมขอเล่าประสบการณ์ที่เพิ่งผ่านไม่นานนี้เองครับ โดยนำหลัก 3 หลักนี้มาใช้ เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทที่ผมทำงานอยู่ได้ไปออกงาน Event ซึ่งเป็นงานที่กลุ่มคนรักการตกแต่งบ้าน สถาปนิก วิศวกร เจ้าของโครงการบ้าน คอนโด หรือผู้อยู่ในอุตสาหกรรมก่อสร้างจะไปชมงานเพื่อหา Idea ในรังสรรค์บ้าน ตึก หรือโครงการของตนเอง รวมทั้งหาคู่ค้าหรือ Supplier ที่เหมาะสม บริษัทที่ผมทำอยู่ออก Event ทุกปีครับ แต่ปัญหาที่เกิดคือ หลังจากจบงาน แม้เราได้ Database กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจากการเข้าลงทะเบียนชมBooth แต่ไม่ได้การทำกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายอย่างเนื่อง ทำให้ฐานข้อมูลที่ได้มากลายเป็นขยะข้อมูล

มาในปีนี้ เป้าหมายหนึ่งของการเก็บฐานข้อมูลผู้เข้าชม booth คือการสร้างฐานข้อมูลกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แยกกลุ่มเป้าหมายออกเป็นกลุ่มหลัก(เราเรียกกลุ่มนี้ว่า มืออาชีพ)และกลุ่มรอง ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มก็ยังมีการแยกย่อยออกมาเองเพื่อที่ในการทำ CRM และเพื่อให้ได้ Lead ที่ชัดเจน แต่ผมคงไม่ขอพูดว่ากลุ่มย่อยมีอะไรบ้าง จากนั้นเริ่มทำแคมเปญที่ต้องผ่านสืออิเล็คทรอนิกส์(e-Marketing Campaigns)อย่างต่อเนื่อง

ในขั้นแรกที่ทำคือการเก็บฐานข้อมูล ผู้ที่เข้าชมบู๊ทของบริษัทจะต้องกรอกข้อมูลชื่อเบอร์/โทร.มือถือ/email/อาชีพ จะสังเกตุว่า ผมไม่เก็บข้อมูลที่อยู่ ทำไมน่ะหรือ ??? ก็จะได้มีลูกเล่นต่อไงล่ะครับ เดี๋ยวได้รู้กันครับว่าทำไ

Read More →

electronic direct mailอย่างที่เคยเล่าเอาเมื่อตอนที่แล้วใน ข้อเสนอ(Offer)ที่ยากปฏิเสธ 1 เป้าหมายหนึ่งในการทำDM หรือ e-DM คือการได้รับการตอบกลับจากกลุ่มเป้าหมาย แน่นอนว่าเพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายนั้น สิ่งจูงใจให้ผู้รับตอบกลับเรามา(Call-to-Action)คือ Offer หรือ ข้อเสนอ และข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกยากที่จะปฏิเสธ

หลักที่ใช้ในการเลือก Offer ที่ผมมักใช้อยู่เสมอ คือหลัก 3 ถูก ได้แก่ ถูกกลุ่ม ถูกใจ ถูกกาล

1. ถูกกลุ่ม ในการทำแคมเปญสำหรับ Direct Mail(DM) หรือ electronic Direct mail(e-DM หรือ email marketing ที่พวกชอบ SPAM ชอบทำกันนัก) นั้น หากเราส่งจดหมายออกไปโดยไม่เลือกกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน เรามีจำนวนฐานข้อมูลมากแค่ไหนก็ส่งไปให้หมด โดยหวังว่ายิ่งส่งมาก โอกาสที่จะมีคนตอบกลับเราก็จะมากตามไปด้วย แต่มันไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไป

สมมติว่า เราทำโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ประเภทเว็บโปรแกรมมิ่ง เราต้องการเพิ่มยอดผู้เรียนในวิชา “Advanced PHP Programming” ให้ได้ 10 % เรามีฐานข้อมูล 10,000 ชื่อที่มีทั้งโปรแกรมเมอร์ประเภทต่างๆและที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ และเราก็ส่งไปคอร์สวิชานี้พร้อมข้อเสนอลดพิเศษ 50% แต่มีผู้ตอบรับกลับ(Response)มายังไม่ถึง 50 คนหรือ 0.5 %(Response Rate) แม้ว่าตัว Offer คือส่วนลดจะน่าสนใจแต่การตอบรับดูจะไม่ค่อยน่าพอใจเท่าไหร่ ถ้าเราส่ง email ในเชิงต้นทุนแล้วยังไม่ค่อยสูงเท่าใด แต่ที่เสี่ยงหน่อยคือภาพลักษณ์ของคุณในสายตาผู้รับอาจจะไม่ค่อยดีนัก ยิ่งถ้าส่งด้วยไปรษณีย์ธรรมดาแล้วต้นทุนต่อหัวคงจะสูงจนน่าตกใจ

แต่ถ้าหากปรับวิธีการส่งใหม่โดยทำการ Segment หรือแบ่งกลุ่มเป้าหมายให้ช้ดเจน เช่น เป็นโปรแกรมเมอร์หรือไปเป็น ถ้าเป็นแบ่งย่อยเป็นโปรแกรมเมอร์ประเภทไหน แบบ Visual Basic แบบ php เบื้องต้น หรือแบบศึกษามาบ้างแล้ว ฯลฯ ก็จะทำให้ จดหมายที่จะส่งออกไปตรงกลุ่มมากขึ้น สมมติถ้าเราแบ่งแยกว่าส่งไปยังกลุ่ม PHP Programmer ที่เขียนโปรแกรมมาบ้างแล้ว 1 – 3 ปีต้องการหาความรู้เพิ่มเติม ซึงภายหลังพบว่ามีอยู๋ในDatabase list ประมาณ 2000 คน ฉะนั้น Response Rate ก็จะอยู่ที่ 25 % ของจำนวน mail ที่ส่งออกไป(50*100/2000) ซึ่งถือได้ว่ามีประสิทธิภาพมากกว่า ยิ่งถ้าส่งไปรษณีย์ปกติก็ลดต้นทุนไปได้เยอะ แถมส่งได้ถูกกลุ่มอีกด้วยครับ

ครั้งหน้าเราจะมาต่อกันให้จบเลย กับสองข้อที่เหลือ พร้อม Case Studies ที่มาจากประสบการณ์จริงครับ

[tags]Direct Mail,DM,e-DM,Electronic Direct Mail,response,response rate,email marketing,segmentation[tags]