มีน้องๆและพี่ๆ ที่ Office  มาขอคำปรึกษาเรื่องการทำเว็บไซต์ ซึ่งคำถามส่วนใหญ่ จะเป็นคำถามว่า จะทำเว็บ จะต้องไปเรียนทำเว็บไซต์ที่ไหน แล้วจะทำเว็บไซต์ให้สวยได้อย่างไร ผมอยากจะทำเว็บไซต์แบบนี้ แบบเว็บนี้เลย อะไรทำนองนี้ ถ้าเป็นเมื่อ 10 กว่าปีก่อนผมก็คงแนะนำให้ไปเรียน HTML หรือ ภาษา Programining อย่าง PHP JSP หรือ ASP และก็เรียนรู้เรื่องการออกแบบ การดีไซน์ การใช้เครื่องมือพวก Photoshop หรือ Firework หรือไม่ก็ Photo Editing อะไรทำนองนั้น หรือไม่ก็ไปเรียนรู้การใช้ Web Editor ที่เป็นแบบ WSIWYG อย่างพวก Dreamweaver, Go Live(สมัยก่อน Adobe ทำออกมาและเป็นคู่แข่งกับ Dreamweaver), Namo Editor,MS Frontpage ฯลฯ Read More →

ครั้งที่แล้วผมได้แนะนำจุดเด่น 5 ของการใช้ CSS ในการทำเว็บแบบ Tableless สำหรับคนที่สนใจเรื่องของการทำเว็บไซต์ด้วย CSS และอยา่กศึกษาด้วยตัวเองในแบบภาษาไทย ก็เว็บนี้เลยครับ www.divland.com

www.divland.com

ในเว็บนี้แบ่งหมวดหมู่ออกเป็น

  • หน้า Gallery : รวมเว็บที่ใช้ CSS ในการสร้างเว็บไซต์ ซึ่งคุณก็สามารถขอเพิ่มรายชื่อเว็บได้เอง
  • Forum : สงสัยใคร่รู้ในเรื่อง CSS ก็มีคนมาให้คำตอบในแบบเว็บบอร์ด ความรู้แชร์กันได้ผ่านส่วน Forum นี้ครับ
  • My Blog : ฺความรู้ที่เจ้าของเว็บนำเสนอผ่าน Blog สอนกันตั้งแต่ CSS พื้นฐาน เช่น 10 ข้อเบสิคควรทำเมื่อเริ่มเขียน CSS จนถึงกลเม็ด CSS แบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจน ได้แก่ CSS hacks,CSS techniques,CSS templates, CSS tools, Tip & Trick, Web Standards ,Webmaster talks, กฎการเขียน CSS, เริ่มต้นกับ CSS
  • CSS Archives : เว็บไซต์ไหนบ้างให้ความรู้เรื่อง CSS เข้าไปหาอ่านและคลิ๊กดูได้ครับ
  • About Us : หน้านี้บอกเล่าความตั้งใจของเจ้าของเว็บถึงที่มาของ divland อ่านจบก็แวะไปลง Guestbook ในหน้าเดียวกันนี้ได้ครับ
  • Contact Us : อึดอัดใจอยากบอก อยากถามเป็นการส่วนตัวก็เข้ามากรอก Form ในหน้านี้ ส่วนจะตอบหรือไม่ตอบ อันนี้ก็ต้องลองครับ

โดยรวมแล้ว ขอบอกว่าคุ้มที่เข้ามาอ่าน ผมก็เลยใช้เวลานานหน่อยกับบทความในส่วนของ Blog ครับ ลองเข้าไปหาดูครับ

Tags: , , , , , , , ,

หากคุณลองค้นหาเว็บไซต์ที่อยู่ใน Industry หรือ เว็บไซต์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกับเว็บไซต์ของคุณ จะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้ว โครงสร้างและเนื้อหาในเว็บไซต์ไม่ได้แตกต่างกันนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บไซต์ที่เป็น Corporate Website แล้ว แนวทางในการนำเสนอข้อมูลในเว็บก็หาความแตกต่างได้ยาก

computer-web.gifจากประสบการณ์ที่ได้ผ่านเว็บไซต์ประเภท Corporate Website มาก็หลาย Website ทำให้ผมหวลคิดถึงวิธีที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ในอดีต หลายๆครั้งผมมักจะใช้ website ของคู่แข่งในการเป็น Benchmark หรือตัวเปรียบเทียบผสมผสานกับการระดมความคิดจากเจ้าของ Content อย่างเช่นถ้าเจ้าของ content เป็นฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์ ทางผู้ดูแลผลิตภัณฑ์ก็จะนำข้อมูลสินค้าออกมานำเสนออย่างที่ผู้ดูแลต้องการ หรือ ผู้บริหารระดับสูงอยากนำข้อมูลสำคัญที่ผู้ชมเว็บควรรู้ก็จะนำเสนอออกมาอย่างตรงไปตรงมา จนบางครั้งละเลย ความต้องการที่แท้จริงของผู้ชมเว็บไซต์ ซึ่งการสร้างเว็บไซต์โดยวิธีนี้ ผมขอเรียกมันว่า การสร้างเว็บไซต์แบบ Inside-Out ซึ่งเป็นการสร้างเว็บไซต์โดยผ่านความคิดของกลุ่มผู้พัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งผลที่ได้นั้น เมื่อผู้ชมเข้าเว็บไซต์แล้วกับไม่ได้ทำให้ผู้ชมติดตามเว็บไซต์ต่อหรืออ่านหน้าเว็บเพียงผ่านไป เหตุผลก็เพราะ สิ่งที่เรานำเสนอนั้นจริง ๆ แล้วถูกใจเรา แต่ไม่ได้ถูกใจผู้ชมเสมอไป

ดังนั้น การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยวิธีกลับกันจึงเกิดขึ้นซึ่งผมขอมันเรียกว่า ” การสร้างเว็บไซต์แบบ Outside-In “ การสร้างเว็บไซต์แบบนี้เป็นการมุ่งสร้างแรงดึงดูดให้กับเว็บไซต์ และทำให้ผู้ชมอยู่กับเว็บไซต์เรานานขึ้น แต่การที่จะทำให้เกิดจุดนั้นได้ เราจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ด้วยการตั้งคำถามว่า หากคุณเป็นกลุ่มเป้าหมาย คุณอยากรู้อะไร อยากได้อะไรจากเว็บไซต์ของเรา

แน่นอน มันคือความท้าทาย เพราะเราจะต้องเริ่มถอดความคิดของเราออกมาแล้วให้กลุ่มเป้าหมายมาอยู่ในความคิดเราแทน แต่สำหรับ webmaster หรือ Web Developer มันก็น่าท้าทาย ใช่มั้ยครับ

Tags: , , , ,