ถึงวันนี้ เราคงยากปฏิเสธว่า ช่องทางการค้าบนออนไลน์ ได้กลายมาเป็นช่องทางหนึ่งในการขยายธุรกิจของบริษัท ร้านค้า ต่างๆ ทั้งใหญ่ เล็ก จากข้อมูลของ Rakuten Tarad ระบุว่า ช่วงปลายปี 56 ยอดขายของใน Tarad.com เพิ่มขึ้นถึง 71% ( ข้อมูลจาก http://thumbsup.in.th/2014/01/thailand-sees-huge-boost-online-shopping-bangkok-paralyzed-political-shutdown/ )

ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาและอาจารย์แนะนำในเรื่องของการค้าการขายบนออนไลน์ และจากการที่ได้สัมผัสกับหลายองค์กร ทั้งเล็กใหญ่ที่ผ่านมาครับ ทำให้เห็นปัญหาตั้งต้นของทั้งขององค์กรเล็ก ใหญ่ หรือแม้แต่ร้านเล็กๆ หรือ แวดวงคนรู้จัก ก็พบปัยหาตั้งต้น ที่ทำให้ไม่สามารถขายของออนไลน์ หรือ ทำได้ก็ไม่เป็นที่พอใจของตนเอง อะไรบ้างครับ มาดูกัน

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ecommerce

Read More →

สำรวจนิสัยคนรวย

Thomas Corley ผู้เขียนหนังสือ ” Rich Habits: The Daily Success Habits Of Wealthy Individuals ” (นิสัยเศรษฐี : อุปนิสัยความสำเร็จทุกวี่วันของคนร่ำรวย) เขาได้ใช้เวลา 5 ปีในการศึกษาชีวิตของคนรวยที่รายได้ต่อปีอย่างต่ำ 160,000 ดอลล่าร์หรือ 5.18 ล้านบาทโดยประมาณ และมี Liquid Net worth อย่างต่ำ 3.2 ล้านดอลล่าร์ หรือ ราว 1,037 ล้านบาท ( Liquid Net Worth ) สินทรัพย์ที่ลงทุนและสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ทันทีเช่น หุ้น กองทุนรวม ฯลฯ บ้าน รถ ไม่ถือเป็น Liquid Net Worth)

และศึกษาคนจนที่มีรายได้ต่อปีต่ำกว่า 35,000 ดอลล่าร์ หรือ 1.13 ล้านบาท และมี Liquid Net worth ไม่ถึง 5,000 ดอลล่าร์ หรือประมาณ 162,000 บาท พบว่า นิสัยหรือพฤติกรรมของ คนทั้ง 2 พวก ต่างกันอย่างสิ้นเชิง

Thomas Corley

1. จับจ้องเป้าหมายไม่คาดสายตา

คนรวย 62 % เห็นด้วยกับ คำพูดที่ว่า “ฉันโฟกัสที่เป้าหมายที่ฉันต้องการทุกวัน! ”
ในขณะที่ เพียง 6% ของคนจน เห็นด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น คนรวยไม่ใช่แค่ตั้งเป้าหมายเป็นรายปี รายเดือน 67% ของคนเหล่านั้นยังเขียนมันออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

2.คนรวยรู้ว่าวันนี้จะทำอะไร

“ฉันทำลิสต์กิจกรรมที่ต้องทำวันนี้เป็นประจำ ” คนรวย 81% เห็นด้วยกับประโยคดังกล่าว ขณะที่ 19% ของคนจนเห็นด้วย

และ 67 % ของคนรวยทำมันให้เสร็จ ส่วนอีก 70 % มักจะทำกิจกรรมของวันนั้นให้เสร็จภายในวันเดียว

3. คนรวยไม่ค่อยดูทีวี

” ฉันดูทีวีไม่เกิน 1 ชมต่อวัน ” คนรวย 67% เห็นด้วย ขณะที่คนจน 23 % เท่านนั้นที่เห็นด้วย
เศรษฐีเพียง 6% เท่านั้นที่ดู เรียลลิตี้ โชว์ เมื่อเทียบกับคนจนที่ดูรายการแบบนี้ 78% ใช่ว่าคนรวยจะเลี่ยงที่จะดูทีวี แต่เพราะเขาเหล่านั้นมีกิจกรรมที่สนใจจะทำมากกว่านั่นคือ การอ่าน!

4. คนรวยชอบอ่าน แต่ใช่ว่าเพื่อความบันเทิงใจ

86 % ของคนรวยเห็นด้วยกับคำพูด “ฉันชอบอ่านหนังสือ” และ 26% ของคนจนเห็นด้วยกับประโยคนี้

แต่สิ่งที่คนรวย 88% อ่านคือ หนังสือที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะใข้เวลาในการอ่านอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน

5. แฟนตัวยงของหนังสือเสียง(Audio Book)

“ฉันฟัง Audio Book ระหว่างเดินทางไปทำงาน ”
คนรวย 63 % เห็นด้วย
คนจน 5 % เห้นด้วย

ส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่คนร่ำรวยจะฟังระหว่างเดินทางก็คือ เรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง

6. เวลางานของคนรวยใช่แค่ในออฟฟิศ

81% ของคนรวยเห็นด้วยกับประโยค “ฉันทำงานมากกว่าที่ต้องการ” ส่วนคนจนเห็นด้วยแค่ 17% เท่านั้น

นอกจากนี้ 86% ของคนรวยใช้เวลาเฉลี่ยไปกับงาน 50 ชม.หรือมากกว่า ต่อสัปดาห์ และมีคนรวยเพียง 6% ที่บอกว่าไม่มีความสุขกับงาน

7. ไม่เคยหวังบุญหล่นทับ

” ฉันเล่นหวยทุกงวดหรือเป็นประจำ”

คนจนเห็นด้วย 77% ขณะที่คนรวยเพียง 6% เห็นด้วย

ใช่ว่า เหตุผลของการไม่อยากเล่นก็เพราะมันเสี่ยง แต่ที่คนรวยส่วนใหญ่ที่เป็นเจ้าของธุรกิจนั้นพร้อมที่จะเสี่ยงเพื่อธุรกิจที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าอยู่แล้ว

8. คนรวยดูแลสุขภาพ

คนรวยเห็นด้วย 57 % ขณะที่คนจนนั้มีเพียง 5% เท่านั้นที่เห็นด้วย

จากการศึกษา คนรวยอายุ 68 รายหนึ่ง ที่มี Net Worth 78 ล้านดอลล่าร์ Corley ได้โยนคำถามไปว่า ทำไมอายุเท่านี้ คุณยังไม่เกษียณล่ะ เขาตอบว่า ผมหันมาดูแลสุขภาพตัวเองตั้งแต่เมื่อ 45 ปีก่อน ออกกำลังกายทุกวัน ระวังในเรื่องอาหารการกิน เพราะผมรู้ดีว่า เมื่อเวลานั้นมาถึง ผมก็จะสามารถยืดเวลาเกษียณมากกว่าคนอื่นไปได้อีกสัก 4-5 ปี เพราะมันเป็นช่วงเวลาที่คนอื่นๆจะทำเงินได้อีก 7 ล้านเหรียญแต่พวกเขาไม่!

9. คนรวยยิ้มทุกวัน

62% ของคนรวยเห็นด้วย! กับคนจนมีเพียง 16%

ยิ้มไม่ต้องการคำพูดใดๆ ใช่มั้ย

และนั่นคือ สิ่งที่ Thomas Corley ได้ศึกษาวิถีของคนรวย เราลองไปปรับใช้กัน เพื่อความมั่งคั่งกันดีมั้ยครับ

(จาก entrepreneur.com  – http://bit.ly/richmendo )

 

เว็บไซต์ OgilvyDo ได้นำเสนอแนวคิดของการช้อปปิ้ง โดยใช้ชื่อว่า Continuous Commerce

ในอนาคต การค้าการขายแบบดิจิตัลจะไม่ใช่แค่การช้อปปิ้งบนเว็บไซต์เท่านั้น แต่จะเป็นการชอปปิ้งผ่านช่องทางหลากหลาย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ผ่านองค์ประกอบ 3 ประการ

  1. Omni Channel – ช่องทางค้าขายแบบไร้รอยต่อ
  2. Relationship – สร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องและปรับสินค้าและบริการให้เข้ากับปัจเจกหรือแต่ละบุคคลอย่างต่อเนื่อง
  3. Experience – ส่งมอบประสบการณ์ผ่านทุกช่องทางที่ลูกค้าเห็นและเข้าถึง

ใน VDO CLIP เราจะได้เห็นภาพ องค์ประกอบทั้งสาม ทำให้การช้อปปิ้งแบบต่อเนื่อง เป็นอย่างไรลองดูครับ

” The future of digital commerce is more than just a shopping cart on a website, it means seamlessly integrating a brand’s shopping experiences across multiple environments throughout a consumer’s lifetime to continually optimize points for purchase.

We call this Continuous Commerce™. Don’t begin and end at the transaction. Commerce today is continuous. ” – Ogivydo.com

Ogilvy Continuous Commerce

continuous commerce factors - omni-channel relationship experiences
Ogilvy

อ่านเจอใน facebook ของคุณ @inattt จากวง iHear  เป็นข้อคิดที่ดีของคนทำงานแบบเจ้านายตัวเอง ทำงานที่บ้าน หรือ Freelancer ซึ่งเป็นข้อคิดที่ดีและน่าสนใจ ผมจึงได้ขออนุญาตคุณ @inat ในการนำข้อคิด 10 ข้อมาแชร์ให้อ่านกันครับ

” การทำงานของผมที่ใช้ได้จริงกับคนที่ทำงานอยู่บ้าน คือ

  1. อย่าเก็บตัว
  2. สร้างตัวตนในโลกออนไลด์
  3. มีการพัฒนาตัวเอง
  4. คิดอะไรใหม่ๆตลอดเวลา
  5. ทำตัวให้สบายที่สุด
  6. หาแหล่งข้อมูล อย่าตกกระแส
  7. หาจุดเด่น และจุดยืนในการทำงานอิสระ
  8. ต้องไม่หายไปจากสังคม
  9. ให้เวลากับตัวเองเยอะๆ
  10. สร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆได้ตลอดเวลา
  11. (ข้อ10เป็นข้อที่ผมทำบ่อยที่สุด ทำมาตลอดชีวิต และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี) ^__^  ” 

ข้อคิดสำหรับคนทำงานที่บ้าน หรือ freelancer

^___^ ลองไปทำดูครับ

 

ขอขอบคุณคุณ Pakorn Inat(@inattt) ที่อนุญาต ให้นำข้อคิด 10 ข้อมาลงครับ

วันนี้ได้มีโอกาสคุยกับ ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เพราะท่านเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิทยากรร่วมกับผม และ เฮียมั่นคงจาก มั่นคง Gadget ในงานสัมมนา “จับขาช็อปยุคใหม่ให้อยู่หมัด สยบทุกช่องทางด้วย Omni-Channel Marketing” ครั้งแรกของไทย” ท่านได้ให้ความรู้ของคำว่าลูกค้าในภาษาอังกฤษไว้น่าสนใจครับ ท่านบอกว่า สำหรับค้าปลีกแล้วลูกค้ามี อยู่ 3 ประเภทคือ Consumer ,Customer และ Shopper

MUK_0331

  1. ลูกค้าที่อยู่หน้าร้าน คือ Consumer
  2. เมื่อลูกค้าเดินเข้าในร้าน คือ Customer
  3. เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าซื้อสินค้า น้่นคือ Shopper

ความได้เปรียบของ retail ที่ถ้าคุณรู้จัก Shopper ให้มากขึ้น คุณจะพบ Shopper ที่มีอยู่ 3 Level –

  • ขาจร จ่ายน้อยชอบโปร
  • ขาประจำ แต่ก็ยังสนใจโปร
  • สุดท้ายผมขอเรียกสาวก กลุ่ม Shopper ที่ซื้อโดยไม่สนใจว่าจะมีโปร หรือไม่ แต่ฉันจะซื้อล่ะ

และกลุ่มสุดท้ายที่แหล่ะครับที่สร้างยอดขายให้ค้าปลีกสูงเกิน 50% (ผมจะตัวเลขไม่ได้ครับ)

3 คำนี้ สามารถใช้ได้กับทั้งวงการค้าปลีกปกติ และช่องทางออนไลน์หรือ e-Commerce ครับ สำหรับเถ้าแก่ออนไลน์ สิ่งที่ต้องทำมากกว่ามีสินค้าแล้วเปิดร้านออนไลน์คือ การศึกษาให้ได้ว่า ลูกค้า ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เราสามารถทำให้เขาเหล่านั้่นเข้ามาในร้านเรา และเปลี่ยนจาก Customer มาเป็น Shopper และเป็น Shopperแบบระยะยาวได้อย่างไร

ประยุกต์ใข้ครับ สำหรับ 3 คำนี้!