วันนี้เข้าไปที่ Google เห็น logo ของ Google(google doodle) ที่ประดับด้วยวิกผม พานให้สงสัยว่าวันนี้เป็นวันอะไรหรือ

google mozart logo

ค้นไปค้นมาก็ถึงบางอ้อ ว่าวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของ  โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต(Wolfgang Amadeus Mozart) คีตกวีเอกของโลกนั่นเอง ผมจึงขอคัดลอกประวัติย่อๆที่คัดมาจากเว็บ http://www.matichon.co.th/ ซึ่งลงในคอลัมน์รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น มาให้อ่านกัน

โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต-Wolfgang Amadeus Mozart” คีตกวีคนสำคัญของโลก เกิด 27 มกราคม ค.ศ. 1759 ที่เมืองซาลซ์บูร์ก ออสเตรีย เป็นลูกไม้ใต้ต้นของเลโอโปลด์ โมสาร์ต นักแต่งเพลง นักดนตรีฝีมือไวโอลินเป็นเยี่ยม เป็นหัวหน้าวงดนตรีประจำสำนักอาร์คบิชอปซาลซ์บูร์ก แม่ชื่ออันนา โมซาร์ต

ภาพจาก http://www.wikipedia.org/ความสามารถด้านดนตรีของโมสาร์ตฉายแววเมื่ออายุเพียง 5 ขวบ เขานำเพลง minuet ที่พ่อแต่งค้างไว้มาจัดการต่อเรียบร้อย ไพเราะยิ่ง ในวันเกิด 6 ขวบ ก็ได้รับไวโอลินเล็กๆ เป็นของขวัญ และขึ้นเวทีแสดงไวโอลินร่วมวงกับพ่อ ซึ่งทนความรบเร้าของลูกชายไม่ไหว นับจากนั้นเส้นทางการศึกษาไวโอลินก็ดำเนินไปอย่างจริงจัง พ่อฝึกซ้อมควบคู่กับสอนพี่สาว
โมสาร์ตยังสามารถเล่นออร์แกน คลาเวียร์ เขาเดินทางแสดงดนตรีในหลายมุมทั่วยุโรป ประสบความสำเร็จ ชื่อเสียงรุ่งโรจน์ตั้งแต่เยาว์วัย ได้รับความยกย่องนับถือจากวงสังคมทุกแห่งตั้งแต่ประชาชนเดินถนนจนถึงราชสำนักออสเตรีย เยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ การเดินทางของเขาและพี่สาว นอกจากแสดงดนตรี พ่อยังต้องการให้ลูกๆ ได้ท่องเที่ยวโลกกว้างด้วย

ชีวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่ออาร์คบิชอปแห่งซาลซ์บูร์กผู้สนับสนุนเงินในการตระเวนแสดงดนตรีของครอบครัว เสียชีวิตลง อาร์คบิชอปคนใหม่ระงับการเดินทาง พ่อจึงตัดรายจ่ายของตัวเองให้โมซาร์ตกับพี่สาวเดินทางตามลำพัง แต่ชื่อเสียงเขาเริ่มจาง เพราะโตเป็นชายหนุ่ม ไม่ใช่เด็กชายน้อยรูปสง่าใบหน้าสวยหวานช่างฝันที่ฝีมือเกินตัวจนผู้คนทึ่งเสียแล้ว

เขาแต่งงานพร้อมกับที่ชีวิตย่ำแย่ลงเรื่อยๆ แต่เพลงที่เขียนกลับวิจิตรบรรจง ผลงานโมซาร์ตมีกว่า 200 ชิ้น ทั้งสตริง ควอเต็ตส์, เปียโน ควอเต็ตส์, เปียโน ควินเต็ตส์, เปียโน คอนแชร์โต, ไวโอลิน คอนแชร์โต, ฟลุต คอนแชร์โต, อุปรากร 22 เรื่อง ซิมโฟนี 41 เพลง รุ่นสุดท้าย 3 เพลง สำเร็จลงระหว่างฤดูร้อนปีค.ศ.1788 ได้แก่ ซิมโฟนีนัมเบอร์ 39 อี แฟลต เมเจอร์, นัมเบอร์ 40 จี ไมเนอร์ และนัมเบอร์ 41 ซี เมเจอร์ ส่วนอุปรากรเรื่องสุดท้าย The Magic Flute เขียนปี 1971 ขณะป่วยและอยู่ในภาวะคับแค้นเรื่องครอบครัว แต่ท่วงทีทำนองลีลาของเพลงเต็มไปด้วยชีวิตชีวาร่าเริงแจ่มใส

เขาพยายามแต่งเพลง Requiem (เพลงเกี่ยวกับงานศพ) ให้แก่เคานต์ลัวเซกก์ ซึ่งเป็นภรรยาผู้ล่วงลับ แต่งไปได้ไม่มากนักก็เสียชีวิตเสียก่อน เป็นอันว่าเพลง Requiem แต่งขึ้นเพื่องานศพของตนเอง วันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1791 ไทฟอยด์พรากโมซาร์ตจากไปด้วยวัยเพียง 35 ไม่มีญาติมิตรคนใดไปฝังศพของเขา คงปล่อยให้สัปเหร่อจัดการ ณ ป่าช้าสำหรับคนอนาถาที่เซนต์ มารุกซ์ กรุงเวียนนา ปิดฉากคีตกวีเอกชองโลกอย่างเงียบเหงาเศร้าสร้อย ”

หากใครสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับ Mozart ขอแนะนำให้ไปหาหนังเรื่อง ” Amadeus ” ซึ่งเป็นหนังที่ได้รับรางวัลออสการ์มาครองถึง 8 ตัวในปี 1984 มาดู ผมเองดูมา 2- 3 ครั้งแล้ว ดูกี่ครั้งก็รู้สึกได้ถึงความลงตัวของหนังทั้งบท, ภาพ,ตัวแสดง,ฉาก,เครื่องแต่งกาย, ฯลฯ

ค้นคว้าเรื่องของ Mozart ได้ที่ MozartProject.org

Tags : , , ,,,,

Leave a Reply

Post Navigation